วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

องค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัย การจดลิทธิบัตร ลิขสิทธิ์

การจดลิขสิทธิ์
1. ความหมาย
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์งานที่กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้จัดทำขึ้น ซึ่งผลงานนั้นเกิดขึ้นจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะ ถือเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” โดยสามารถซื้อขายโอนสิทธิ์กันได้ทั้งทางมรดกหรือโดยวิธีอื่นๆ ซึ่งจะกระทำกันเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นสัญญาและจะโอนสิทธิ์ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
2. ขอบข่าย
ลิขสิทธิ์จะมีได้ในงานต่างๆ 9 ประเภท คือ
2.1 งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2.2 งานนาฏกรรม ได้แก่ งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่าหรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
2.3 งานศิลปกรรม ได้แก่ งานจิตกรรม งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย
2.4 งานดนตรีกรรม ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับเพลง ทำนองและเนื้อร้อง เป็นต้น
2.5 งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์
2.6 งานภาพยนตร์
2.7 งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง คอมแพ็คดิสก์
2.8 งานแพร่เสียงและภาพ เช่น งานที่นำออกเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
2.9 งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
3. ขั้นตอนการจดลิขสิทธิ์
3.1 กรอกข้อมูลและระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ สถานที่ติดต่อ ชื่อผลงาน ประเภทของงาน ปีที่สร้างสรรค์ เป็นต้น
3.2 กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีมากกว่า 1 คน ให้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมในใบต่อท้าย
3.3 ให้ระบุวิธีการและขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อหรือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานในแบบแสดงรายละเอียกเกี่ยวการสร้างสรรค์ผลงาน
3.4 ระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่อยู่ ประเภทของงาน ชื่อผลงาน ระบุวันที่ยื่นคำขอและเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
3.5 แนบผลงานลิขสิทธิ์ที่ใช้ยืนประกอบคำขอ
4. เอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
4.1 สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
4.2 สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของเข้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
4.3 หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
4.4 หน่วยงานหรือองค์กรรัฐใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งจากผู้บริหารหน่วยงานรวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
4.5 ผลงานลิขสิทธิ์ที่สร้างสรรค์ 1 ชุด
5. สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
5.1 ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์ สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
5.2 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีภูมิลำเนาอยู่
***ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น***
การจดสิทธิบัตร
1. ความหมาย
สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฏกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ.2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการคิดค้นหรือออกแบบเพื่อให้ได้สิ่งของ เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การประดิษฐ์รถยนต์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือการออกแบบไม่ให้เหมือนคนอื่น เช่น ลวดลายบนจานข้าว ขวดบรรจุน้ำดื่ม
2. ขอบข่าย
สิทธิบัตร มี 3 ประเภท คือ
2.1 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ การคิดค้นเกี่ยวกับกลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ยารักษาโรค หรือการคิดค้นกรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งของ เช่น วิธีการใช้การผลิตสินค้า การเก็บรักษาพืชผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็ว เป็นต้น
2.2 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบรูปร่างของแก้วน้ำ เป็นต้น
2.3 อนุสิทธิบัตร เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่มีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
3. ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร
3.1 ยื่นคำขอสิทธิบัตร ต้องยื่นเอกสารคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียม
3.2 ตรวจสอบขั้นต้น เมื่อยื่นคำขอแล้วหากมีการแก้ไขเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนทราบเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ภ3.3 ประกาศโฆษณา เมื่อคำขอถูกต้องเรียบร้อบเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอจ่ายค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณา 250 บาท โดยประกาศโฆษณาในหนังสือประกาศโฆษณาคำขอสิทธิบัตร เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้าน โดยผู้คัดค้านต้องยื่นคำคัดค้านภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณา
3.4 หลังประกาศโฆษณาผู้ขอต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยดำเนินการภายใน 5 ปี ตั้งแต่วันประกาศโฆษณา
3.5 ออกสิทธิบัตร เจ้าหน้าที่จะสืบค้นเอกสารว่าเคยมีสิ่งประดิษฐ์เดียวกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ถ้าคำขอถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกฏหมายเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอต่อไป
4. เอกสารประกอบคำขอ
4.1 แบบพิมพ์คำของรับสิทธิบัตร
4.2 รายละเอียดการประดิษฐ์
4.3 ข้อถือสิทธิ์
4.4 บทสรุปการประดิษฐ์
4.5 รูปเขียน (ถ้ามี)
4.6 เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
5. สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับสิทธิบัตร
5.1 ส่วนบริหารงานจดทะเบียน สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา
5.2 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกแห่ง
*** ชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง***